วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

อาเซียน

อาเซียน
1.อาเซียนมีกี่ประเทศ
ที่มา www.thai-aec.com


1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)


2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)



3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)


4.ประเทศลาว (Laos)


5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)


6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)


7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) 



8.ประเทศสิงคโปร์(Singapore)


9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)


10.ประเทศไทย (Thailand)

2.อาเซียนมีประเทศอะไรบ้าง
ที่มา www.เกร็ดความรู้.net


1.บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)




บรูไน เป็นประเทศที่ตลาดเปิดแบบเสรี ภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของประเทศ จะมาจากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ และนับเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อันดับที่ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

และมีสินค้านำเข้าส่วนใหญ่จากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา โดยเป็นสินค้าประเภท เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และสินค้าเกษตร
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

2.กัมพูชา (Cambodia)


กัมพูชา เป็นประเทศที่เกิดสงครามภายในมายาวนาน และมีการยุติลงในปี 2534 จึงค่อยๆ มีการพัฒนาประเทศ โดยกัมพูชากำหนดนโยบายมุ่งการพัฒนาทางการเกษตร การท่องเที่ยว และมีการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ

เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

3.อินโดนีเซีย (Indonesia)


ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยภาคการผลิต ที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ ภาคบริการ ภาคหัตถอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และเหมืองแร่

นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรรธรรมชาติที่มีค่าทางเศรษฐกิจสมบูรณ์ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก ทองแดง แร่เหล็ก เป็นต้น

เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร


4.ลาว (Laos)



ประเทศลาว มีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเติบโตจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง ลาว จีน ไทย เวียดนาม ด้วยภาคผลิตการเกษตร ป่าไม้

เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)

5.มาเลเซีย (Malaysia)


มาเลเซีย เป็นอีกประเทศที่พึ่งพาเหมืองแร่ และการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ไม้ซุง และดีบุก และมีรายได้หลักมาจากการผลิตสินค้าและบริการ

โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้ภายในประเทศมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น

เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา


6.พม่า (Myanmar)


อาชีพหลักของ ประชาชนในประเทศ จะเป็นการเกษตรกร เช่น การปลูกข้าวเจ้า อ้อย และพืชเมืองร้อน การทำเหมืองแร่ การทำป่าไม้ อุตสาหกรรม พม่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา และมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ


7.ฟิลิปปินส์ (Philippines)
                                    ประเทศฟิลิปปินส์

ปัญหาความยากจน เป็นปัญหาที่มีมายาวนาน และมีการกระจายรายได้โดยไม่เท่าเทียมกัน และยังประสบปัญหาราคาน้ำมันแพง ฟิลิปินส์ มีสินค้านำเข้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน เหล็ก ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

8.สิงคโปร์ (Singapore)



สิงคโปร์เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการเปิดเสรีทางการค้า และมีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงเท่ากับกลุ่มประเทศในยุโรป
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

9.เวียดนาม (Vietnam)
                              
ประเทศสิงคโปร์

สินค้าส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม จะเป็นประเภทสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และยังเป็นประเทศที่ดึงดูดนักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะว่า มีประชากรจำนวนมาก และค่าจ้างแรงงานต่ำ อีกทั้งชาวเวียดนาม ยังมีอุปนิสัยขยันอีกด้วย
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

10.ประเทศไทย (Thailand)



ประเทศไทย มีสินค้าส่งออกได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนประกอบรถยนต์ แผงวรจรไฟฟ้า ยางพารา เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครือ่งประดับ และผลิตภัณฑ์เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ รวมไปถึงส่วนประกอบ

นอกจากนี้ยังนำเข้าน้ำมันดิบ รถยนต์ เงินแท่งและทองคำ

เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข





3.สัญลักษณ์อาเซียนมีกี่สี
ที่มา http://hilight.kapook.com/view/75319

 
  
สีน้ำเงิน
สีแดง
สีขาว
สีเหลือง


4.แต่ละสีของสัญลักษณ์มีความหมายอย่างไร

ธงอาเซียน
สัญลักษณ์อาเซียน
          ตราสัญลักษณ์อาเซียนเป็นรูปมัดรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นวงกลมสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน
          รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกัน เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
          วงกลม  เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเอกภาพของอาเซียน
          ตัวอักษรคำว่า  asean  สีน้ำเงิน  อยู่ใต้ภาพรวงข้าว  แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง  สันติภพ  เอกภาพ  และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
                                สีเหลือง    หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
                                สีแดง       หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
                                สีขาว       หมายถึง ความบริสุทธิ์
                                สีน้ำเงิน    หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
5.สัญลักษณ์อาเซียนสื่อความหมายใด
ที่มา http://aseansueksa.blogspot.com/2012/08/blog-post.html
ที่มา http://chalanda-moon.blogspot.com/p/blog-page_7886.html
ที่มา www.เกร็ดความรู้.net
      รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกัน เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

6.ประเทศสิงคโปร์มีระบบการปกครองอย่างไร
ที่มา http://www.boi.go.th/thai/asean/Singapore/capt1_p2n.html
ที่มา th.wikipedia.org
ที่มา http://www.baanjomyut.com/library_2/asean_community/singapore/02.html
ลักษณะเด่นและความสำคัญของการเมืองสิงคโปร์ 
ประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบันเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเยี่ยม สิงคโปร์มีการปกครองในระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดีทาหน้าที่เชิงพิธีการเท่านั้น สิงคโปร์ได้รับการจัดตั้งให้เป็นสาธารณรัฐสิงคโปร์เมื่อ เดือน ธันวาคม 1965 สิงคโปร์รับเอาระบบประชาธิปไตยรัฐสภาของอังกฤษเป็นแม่แบบ แต่สิงคโปร์มีแต่สภาเดี่ยวไม่มีสภาคู่แบบอังกฤษ

นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากได้รับเอกราชนั้น มีเพียงพรรคการเมืองเดียวคือพรรคกิจประชา(PAP: People’ Action Party) เท่านั้น ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาดารงตำแหน่งทางการเมืองในสภากว่าสามทสวรรษ โดยมีผู้นำประเทศเพียงคนเดียวคือ ลี กวน ยู ภายหลังนายลีจึงยอมลงจากตำแหน่งเพราะบริหารประเทศมานาน แล้วสืบทอดอำนาจให้คนสนิท คือโก๊ะ จ๊ก ตง ซึ่งนายลีก็มีบทบาทในการบริหารอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโส โก๊ะ จ๊ก ตง ก็ดาเนินนโยบายในแนวทางสานต่อทางการเมืองจาก ลี กวนยู เช่นเดิม ในปัจจุบัน การเมืองการปกครองสิงคโปร์นั้นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีระบบการเมืองที่ค่อนข้าวมีเสถียรภาพมากเป็นลาดับต้นๆของโลกเลยก็ได้ เพราะระบบการเมืองสามารถดาเนินไปได้อย่างมีระบบระเบียบ ไม่มีการแทรกแซงจากอำนาจนอกระบบเช่นการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันเองในหลายๆประเทศ เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลสิงคโปร์เกิดจากการที่สิงคโปร์มีรัฐบาลพรรคเดียวครองอำนาจมาเป็นเวลานานมาก ชนชั้นนำที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองสิงคโปร์นั้นกระจุกอยู่กับกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว พรรค PAP.ของอดีตประธานาธิบดีสิงคโปร์มีบทบาทอย่างมากทางการเมืองตั้งแต่ยุคการเรียกร้องเอกราชจนจึงปัจจุบันที่มีนาย ลี เซียน ลุง บุตรของ นายลี กวน ยู มีอำนาจทางการเมืองจากการเลือกตั้ง 

คำถามที่สำคัญในการเมืองสิงคโปร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสาหรับการเข้าใจการเมืองและความสัมพันธ์ทางอำนาจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจอื่นๆ คือทาไมคนสิงคโปร์จึงยินยอมยอมรับต่ออำนาจของพรรคPAP เพราะถ้าย้อนกลับไปดูหนทางทางการเมืองภายในประเทศ เราจะพบการใช้อำนาจของรัฐอย่างเด็ดขาดในการควบคุม สิทธิ เสรีภาพของพลเมืองอย่างเข้มข้น แล้วใย พลเมืองสิงคโปร์จึงนิยมในการเลือกพรรคPAP เรื่อยมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ชนชั้นนำทางการเมืองการปกครองของสิงคโปร์ใช้วิธีการเชิงรูปธรรมและนามธรรมอย่างไรในการควบคุม ครอบงำการเมืองสิงคโปร์ รวมทั้งสภาพการต่อสู้ของการเมืองในนภาคประชาสังคมของสิงคโปร์เองที่ไม่ชื่นชอบวิธีการควบคุม ครอบงำทางอำนาจ ความคิดของ ชนชั้นนำสิงคโปร์ ถึงวิธีการทั้งทางตรงและทางอ้อม ปกปิดและเปิดเผย ต่ออำนาจ ของชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์ รวมทั้งการทำความเข้าใจและเพื่อการคาดเดาอนาคตการเมืองการปกครองของสิงคโปร์ 

ชาตินิยมกับการเมืองของผู้นำ ในเรื่องของชนชั้นนำในการเมืองสิงคโปร์นั้น เราจะพบว่าการเมืองสิงคโปร์ตั้งแต่การได้รับเอกราช นายลี กวน ยู ผู้นำพรรคกิจประชา(PAP) มีบทบาทอย่างมากในฐานะที่สามารถเข้ามาครองอำนาจทางการเมืองได้อย่างยาวนาน ลีกวนยู นาสิงคโปร์เข้ารวมกับมาเลเซียใน การเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่คนมาเลย์ค่อนข้างเหยียดหยามคนสิงคโปร์ หลังรวมกันได้สองปี ลีกวนยูก็แยกสิงคโปร์ออกจากมาเลเซียแล้วมุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี กาจัดผู้ที่คิดต่างทางการเมือง เช่น นักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย คอมมิวนิสต์ 

การทำความเข้าใจชนชั้นนำของสิงคโปร์นั้นอาจศึกษาได้แนวคิดของ Max Weber ในเรื่องการอธิบายลักษณะอำนาจชอบธรรมของชนชั้นนำสิงคโปร์ที่จะปกครอง นั้น เวเบอร์กลั่นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ออกมาเป็นตัวแบบบริสุทธิ์ของการครอบงำ สามแบบหลัก คือ1.แบบจารีต (Traditional) เช่นผู้อาวุโสเป็นใหญ่ แบบพ่อปกครองลูก เป็นต้น 2.แบบบุญบารีส่วนตัว (Charismatic) คือการที่เชื่อว่าผู้ปกครองมีความพิเศษเหนือคนธรรมดา และ 3. แบบที่ต้องอาศัยกฎหมายที่มีเหตุผล (Rational-Legal) หรือระบบการปกครองสมัยใหม่เน้นราชการเป็นตัวจักรในการดาเนินการปกครองภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่อันจากัด มีกฎหมายกำหนด อีกหนึ่งแนวคิดที่สำคัญสาหรับชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์ คือ C.Wright Mills ที่ได้เสนอความคิดของเขาเกี่ยวกับการศึกษาชนชั้นนำทางการเมืองในหนังสือ The Power Elite Mills เสนอว่าการจัดองค์กรทางสังคมในสหรัฐอเมริกานั้นจะมีแต่คนในแวดวงระดับสูง เช่นนักการเมือง ข้าราชการระดับสูง ผู้นำกองทัพ และผู้บริหารบริษัทใหญ่ๆ เป็นต้น ที่สถาปนาตนเองเป็นกลุ่มชนชั้นนำในอำนาจ และควบคุมการดาเนินงานของรัฐ คนเหล่านี้มักมาจากพื้นฐานทางสังคมและการศึกษาใกล้เคียงกัน หรือมีความสัมพันธ์ส่วนตัวมาเป็นเวลายาวนาน 

ในสังคมการเมืองสิงคโปร์นั้น หลังนายลีลงจากตำแหน่งได้สืบทอดอำนาจผ่าน โก๊ะ จก ตง ลีกวนยูมีความน่าสนใจในแง่ที่ว่าเป็นผู้นำเพียงไม่กี่คนในเอเชียที่ยอมลงจากอำนาจโดยสมัครใจเมื่อถึงเวลาอันควร การเปลี่ยนตัวนายกเป็นไปอย่างราบรื่นและเรียบร้อย เนื่องจากมีการเตรียมการเป็นอย่างดีไม่ต่ากว่า 20 ปี สาหรับการสืบทอดอำนาจจากผู้นำทางการเมืองรุ่นแรก ไปสู่ผู้นำทางการเมืองรุ่นที่สอง ลักษณะการสรรหาผู้นำทางการเมืองในสิงคโปร์นั้น พบว่า ผู้นำรุ่นอาวุโสของพรรคกิจประชาจะเสาะหาบุคคลที่มีความรู้ มีการศึกษาสูง มีความสามารถและมีความประพฤติดี เข้ามาเป็นสมาชิกพรรค แล้วส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง ตลอดจนฝึกฝนสมาชิกรุ่นหลังให้ทาหน้าที่สมาชิกรัฐสภาที่ดี นายลีได้ประกาศก่อนหน้า 

การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึงสองปี ให้ทุกคนรู้ว่า นายโก๊ะ จก ตง จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดไป ชนชั้นนำในสังคมการเมืองสิงคโปร์จึงมีอำนาจอันชอบธรรมจากประชาชนจากการต่อสู้เพื่อเอกราชและการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อย่างมีเสถียรภาพ ความจาเป็นทางเศรษฐกิจของพลเมืองสิงคโปร์ที่ต้องการการเมืองที่มีความมั่นคง เพราะจากการเป็นชาติที่มีปัญหาจากสภาพสังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ทั้งยังถูกโอบล้อมด้วยประเทศใหญ่ ชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์จึงถูกผูกขาดอำนาจอยู่เพียงคนกลุ่มเดียว 

ประชาธิปไตยวิถีเอเชีย ผู้นำของสิงคโปร์คือ ลีกวนยู มีความสำคัญอย่างมากในแง่ของการกำหนด เป้าหมาย ปรัชญา อุดมการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมือง ลีกวนยู นาเสนอแนวคิด ค่านิยมเอเชีย (Asian Values) หรือประชาธิปไตยวิถีทางเอเชีย กล่าวคือลีมองว่า ประชาธิปไตยแบบเสรีเป็นแนวคิดแบบตะวันตก ไม่เหมาะสมกับประเทศในเอเชีย เพราะความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม ภูมิประเทศ ดังนั้น ประชาธิปไตยเสรีจึงไม่เหมาะสมถ้าจะนามาใช้ทั้งหมด 

ในช่วงประมาณทศวรรษที่80 สิงคโปร์เริ่มประสบปัญหาทางวิกฤติเศรษฐกิจมากขึ้น ประชาชนเริ่มอึดอัดกับการปกครองที่ควบคุมวิถีชีวิตในทุกแง่มุม การเลือกตั้งในช่วงเวลานั้นประสบคะแนนเสียงของพรรค PAP ลดลงอย่างมาก แม้จะได้ออกแบบโครงสร้างการเลือกตั้งอย่างกีดกันพรรคฝ่ายค้านแล้วก็ตาม ชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์ในขณะนั้นจึงพยายามเสนอแนวคิด “ประชาคมนิยม” (Communitarianism) เพื่อรณรงค์เรื่องความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว และความมั่นคงของรัฐ แนววคิดดังกล่าวมีองค์ประกอบหลักคือ ต้องการเชิดชูความเป็นชาติเหนือกว่าปัจเจกบุคคล สถาบันครอบครัวคือรากฐานที่แท้จริงของสังคม การสนับสนุนจารีตที่ให้ประชาชนผู้น้อยเคารพผู้ใหญ่ การตัดสินใจใดๆก็ตาม ควรเน้นการเห็นพ้องต้องกันมากกว่า การแข่งขัน การถกเถียงกัน และยังต้องสร้างความสามัคคีกันระหว่างประชาชน เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศที่รวมกันของความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ประการสุดท้ายคือ พลเมืองมีหน้าที่ต้องเสียสละแก่บ้านเมือง และรัฐก็ต้องมีสวัสดิการที่ดีแก่ประชาชน อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดดังกล่าวโดยรวมให้ความสำคัญกับเรื่องบทบาทและหน้าที่ของผู้คนในสังคม สอดคล้องกับวัฒนธรรมแบบเอเชีย เช่นแนวทางแบบขงจื้อ

พรรคการเมืองเดียวครองอำนาจ การเลือกตั้งของสิงคโปร์ตั้งแต่ในยุคหลังการประกาศเอกราชเป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน ไม่มีพรรคการเมืองใดในสิงคโปร์ที่จะสามารถเข้ามามีเสียงข้างมากในสภาได้ การที่สมาชิกพรรคฝ่ายตรงข้ามกับพรรค PAP จะสามารถเข้ามานั่งในสภาได้ก็นับว่าเป็นเรื่องยาก และเกิดขึ้นน้อยมากเนื่องจากการใช้อำนาจทางการเมืองของรัฐบาลเพื่อกีดกัน และความอ่อนแอในตัวพรรคและนักการเมืองฝ่ายค้านเอง รวมทั้งประชาชนชาวสิงคโปร์ที่นิยม พรรค PAP เป็นอย่างมาก เสียงส่วนใหญ่ในสภาอยู่ในมือของพรรค PAP ตั้งแต่ทศวรรษที่1960 เป็นต้นมา การเลือกตั้งเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในการเมืองระบอบประชาธิปไตย และพรรคPAP ที่ดูว่าเป็นเผด็จการ ก็มามีความชอบธรรมทางอำนาจมาจากการเลือกตั้งของประชาชน สิงคโปร์มีการเลือกตั้งตรงตามหลักเกณฑ์ประชาธิปไตย แต่เป็นการเลือกตั้งที่ผลิตนักการเมืองเข้าไปจัดการทางอำนาจของคนจากพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวเป็นตัวแทนของประชาชน Chan Heng Chee เสนอว่า ไม่ควรเรียกระบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้งว่าเป็นระบบพรรคเด่นเพียงพรรคเดียว แต่ควรเรียกว่าพรรคการเมืองครองความเป็นจ้าว (Hegemonic Party System) มากกว่า เพราะว่าระบบแรกนั้น ในการเลือกตั้งมีการแข่งขันอย่างยุติธรรมระหว่างบรรดาพรรคการเมืองที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ แต่ในระบบพรรคการเมืองครองความเป็นจ้าวนั้น เป็นการแข่งขันที่มีแต่พรรคๆเดียวที่มีโอกาสชนะ และมีความได้เปรียบพรรคการเมืองอื่นๆที่อ่อนแอกว่าอย่างมาก

เสถียรภาพและความมั่นคงภายใต้ระบอบกึ่งประชาธิปไตย การเมืองสิงคโปร์ซึ่งถูกปลูกฝังโดยชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์ที่ให้เน้นความสำคัญของส่วนรวมมากกว่าปัจเจก แนวคิดแบบปัจเจกนิยมเป็นรากฐานและผลผลิตของประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งไม่เหมาะสมสาหรับสังคมสิงคโปร์ การเมืองสิงคโปร์จาเป็นต้องเห็นคุณค่าของส่วนรวม อีกทั้งสิงคโปร์เองเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา การเน้นคุณค่าของส่วนรวมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากเรื่องความหลากหลาย ด้วยความเป็นชาติใหม่ ที่เพิ่งได้รับเอกราชและมีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย คนสิงคโปร์จาเป็นต้องมีสานึกเรื่องชาติสูง ไม่ต้องการให้เกิดการแบ่งแยกหรือความขัดแย้งใดๆ เพราะประเทศของตนก็เสียเปรียบจากประเทศรอบข้างอย่างมากแล้ว ดังนั้นคนสิงคโปร์ในช่วงแรกจึงเห็นว่าเสถียรภาพทางการเมืองและความมั่นคงของชาติ สำคัญมากโดยเฉพาะเมื่อต้องแข่งขันกันพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สิงคโปร์จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างชาติให้เจริญเติบโตโดยการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นทางเดียวที่ชาติเล็กๆอย่างสิงคโปร์จะก้าวขึ้นมามีอำนาจในการเมืองโลกได้ 

การเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์นับว่ามีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเมืองสิงคโปร์มีเสถียรภาพสูง คนสิงคโปร์นิยมชมชอบการเมืองแบบลีกวนยู เพราะลีกวนยูมีภาพของความสุจริต ความฉลาดเฉลียว ในการบริหารประเทศ นโยบายทางเศรษฐกิจของลี ทาให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจสิงคโปร์อย่างมากมาย เกิดการกระจายทางทรัพยากรอย่างทั่วถึง ด้วยหลักประชาคมนิยมนั้น ลีเห็นความสำคัญของการจัดสรรสวัสดิการแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก แม้พื้นที่ของสิงคโปร์จะมีจากัด แต่ลีสามารถบริหารจัดการที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคให้กับคนสิงคโปร์ได้อย่างดี ภายในเวลาไม่กี่ทศวรรษ สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีระบบการเมืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีความมั่นคงมากเป็นลาดับต้นๆของโลก ว่ากันว่าคุณภาพชีวิตคนสิงคโปร์ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนสิงคโปร์ถือว่ามีคุณภาพดีที่สุดในลาดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว 

แน่นอนว่า สิ่งหนึ่งเกิดจากภูมิศาสตร์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์เองที่มีความเหมาะแก่การเป็นเมืองท่าทางการขนส่งทางทะเลเชื่อมโยงระหว่างประเทศในเอเชียกับยุโรปและอาฟริกา นอกจากนี้สิงคโปร์ยังมีความสามารถในการจัดการด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าของภูมิภาค เป็นศูนย์กลางของเงินทุนหมุนเวียนในภูมิภาค กล่าวได้ว่าในภาคการผลิตของสิงคโปร์นั้นมีปริมาณน้อยมากเพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ขนาดพื้นที่ที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนด้านปัจจัยการผลิต แต่สิงคโปร์สามารถเปลี่ยนแนวโน้มการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจเข้าสู่ภาคบริการ และ ภาคการเงิน การลงทุน ศูนย์กลางการบริหารจัดการเป็นต้น ดังนั้นในแต่ละปี สิงคโปร์จึงสามารถทากาไร จากการแสวงหามูลค่าดังกล่าวได้จานวนมาก และเพียงพอต่อการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมือง 

การสร้างชาติด้วยการสร้างความมั่นทางเศรษฐกิจ ภายใต้การจากัดการแสดงออกทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองคือสภาพสังคมสิงคโปร์ที่เกิดขึ้นมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลในอดีตใช้กลไกทางอำนาจรัฐบังคับและควบคุมความคิดทางการเมืองของพลเมืองอย่างเข้มงวด ในเชิงกระบวนการและระบบการเมืองนั้น พรรคPAP ซึ่งมีอำนาจทางการเมืองมาตั้งแต่แรก ได้ปรับเปลี่ยนกลไกการเลือกตั้ง หรือใช้กลวิธีนอกกฎหมาย เพื่อจัดการกับนักการเมืองฝ่ายค้าน ในด้านประชาสังคมนั้น สื่อมวลชนสิงคโปร์ถูกจากัดการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างมาก อาจารย์ในมหาวิทยาลัยก็อาจถูกรัฐบาลจับกุมได้ถ้าแสดงการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ยุครัฐบาล ลีกวนยู และโก๊ะจ๊กตง มีการห้ามนาเสนอข่าวสารอย่างมาก เช่นการจากัดการซื้อขายสื่อที่วิจารณ์รัฐบาล ทาลายการตลาดของสื่อที่วิพากษ์นโยบายรัฐบาล จากัดการขายสื่อต่างประเทศบางฉบับที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลสิงคโปร์ การควบคุมทางเศรษฐกิจและทางการเมืองคือวิธีการของรัฐบาลสิงคโปร์ในการแทรกแซงการสาเสนอข่าวของสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ

อำนาจเด็ดขาดของรัฐบาลต่อพลเมืองสิงคโปร์นั้น นอกจากการห้ามการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากรัฐบาล ยกเว้นองค์กรภาคประชาชนที่รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน  รัฐบาลยังใช้กลไกความรุนแรงบังคับ เช่นการใช้กฏหมายเล่นงานผู้ทีดาเนินการต่อต้านรัฐบาล เคยมีผู้ที่ถูกจับกุมจากรัฐบาลมากุมขังเป็นเวลาหลายเดือน และถูกปล่อยตัวต่อหน้าสื่อมวลชนเมื่อยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้สนับสนุนแนวทางมาร์กซิสจริง ต่อมาบุคคลเหล่านี้เปิดเผยว่าตนถูกบังคับให้สารภาพเช่นนั้นเพราะถูกกระทำการอย่างทารุณทั้งทางร่างกายและจิตใจ และอีกหลายกรณีที่รัฐใช้ระบบยุติธรรมในการจัดการกับผู้ที่ดาเนินการทางการเมืองที่ต่อต้านและน่าสงสัยว่าต่อต้านต่อรัฐบาล
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์กับการก่อรูปการเมืองสิงคโปร์ 
เศรษฐกิจการเมืองทุนนิยมกับการเปลี่ยนแปลง สิงคโปร์เริ่มพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ในช่วงหลังการได้รับเอกราช เนื่องด้วยต้องการสร้างความเข้มแข็งของรัฐ-ชาติตน เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศเล็กและมีปัญหาเรื่องความหลากหลาย ทางเชื้อชาติ สิงคโปร์จึงสร้างความเป็นชาตินิยมผ่านทางเศรษฐกิจ โดยไม่สนใจการพัฒนาทางการเมืองมากนัก การพัฒนาทางการเมืองของสิงคโปร์เน้นเฉพาะเรื่อง เชิงโครงสร้าง-หน้าที่ การเมืองเชิงสถาบัน แต่ยังบกพร่องในเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมือง ชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์สร้างความเป็นชาติผ่านอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม และชี้ให้เห็นถึงความเลวร้ายของแนวคิดปัจเจกชนนิยม ทั้งยังใช้กลไกรัฐเชิงบังคับและเชิงอุดมการณ์เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกล่อมเกลาและกาจัดการเคลื่อนไหวต่อต้าน จะเห็นได้ว่าบทบาทรัฐของสิงคโปร์นั้นมีความโดดเด่นและสำคัญมาก รัฐมีบทบาทนาอย่างมากในการพัฒนาและสร้างอุดมการณ์ครอบงำการพัฒนาแบบทุนนิยม

ชนชั้นนำสิงคโปร์ต่อต้านการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์มีการปราบปรามฝ่ายซ้ายอย่างรุนแรง ชนชั้นนำสิงคโปร์เลือกแนวทางการพัฒนาแบบทุนนิยมเสรีโดยอยู่เคียงข้างสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบัน ในทางเศรษฐกิจนั้น ศาสตราจารย์ คุนิโอะ เสนอว่า ทุนนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นทุนนิยมเทียม เพราะ รัฐแทรกแซงอย่างไร้ประสิทธิภาพ มีเทคโนโลยีต่าและไม่สอดรับทิศทางการพัฒนา รวมทั้งการกีดกันทางการเมืองกับเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความต่างทางเชื้อชาติ คุนิโอะเสนอว่า ไม่สามารถมองสิงคโปร์ซึ่งมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีความเจริญสูงมาก ว่าเป็นรูปแบบที่ถูกต้องของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศนี้ไม่ใช่แบบอย่างประเทศทุนนิยมอุตสาหกรรม เพราะนายทุนที่มีความสามารถในการผลิตส่งออกส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ สิงคโปร์ไม่สามารถสร้างระบบพลวัตรทุนนิยมของตนเองได้เพราะพึ่งทุนต่างชาติมาก แม้จะมีเทคโนโลยีดี ไม่กีดกันเรื่องเชื้อชาติ และมีการแทรกแซงระบบตลาดได้มีประสิทธิภาพกว่าหลายๆประเทศในเอเชียก็ตาม
บทบาทรัฐนาการพัฒนาในสิงคโปร์จึงมีความชัดเจนมาก เพราะรัฐบาลกลายเป็นผู้ถือหุ้นและนักลงทุนรายใหญ่ในธุรกิจต่างๆจานวนมาก ทุนนิยมในสิงคโปร์เป็นทุนนิยมที่เสรีแต่ถูกจากัดอย่างมากในทางการเมือง เศรษฐกิจในสิงคโปร์เป็นเศรษฐกิจที่เน้นภาคการเงินและการบริการมากกว่าภาคการผลิตที่เป็นจริง

เศรษฐกิจกับเสรีภาพในการเมืองสิงคโปร์ ในเรื่องเสรีภาพทางการเมืองกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์นั้นมีความขัดแย้งกันอย่างมาก นิยามของประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจการเมืองทุนนิยมนั้น เราอาจนิยามอย่างง่ายๆได้ว่าคือ การมีการเลือกตั้งเสรี มีรัฐบาลและผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งด้วยหลักการดังกล่าว เราจะพบว่า พรรคการเมืองอย่างPAP นั้น ก็ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนชาวสิงคโปร์อย่างมาก ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ประชาธิปไตยในสิงคโปร์ยังเป็นกึ่งประชาธิปไตยอยู่นั้น เพราะ พลเมืองสิงคโปร์ยังไม่มีสิทธิเสรีภาพในการรวมตัว แสดงออก และมีช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารอย่างหลากหลาย เสรี Barrington Moore เสนอว่าชนชั้นกลางจะเป็นผู้สร้างประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ประชาธิปไตยแบบตะวันตกมาจากการปฎิวัติของชนชั้นกลาง เมื่อเรามาย้อนดูชนชั้นกลางในประวัติศาสตร์การเมืองสิงคโปร์จนถึงปัจจุบัน เราจะ พบว่า ชนชั้นกลางของสิงคโปร์นั้นก็ไม่ได้ชื่นชอบและสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยมากซักเท่าไหร่ เพราะเราจะเห็นว่าชนชั้นกลางส่วนใหญ่ในสิงคโปร์ ก็สนับสนุนอำนาจรัฐแบบเด็ดขาดโดยปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุล ในการเลือกตั้งที่ฝ่ายรัฐบาลกำหนดกฎเกณฑ์การเลือกตั้งเข้าข้างตนเอง มีการใช้ระบบกฎหมายเล่นงานฝ่ายตรงข้าม และฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่ชนชั้นกลางสิงคโปร์ก็ยังเลือกพรรคPAP เข้ามาดารงตำแหน่งอย่างท่วมท้น จนเป็นการสืบทอดอำนาจทางการเมืองอยู่เพียงชนชั้นนำทางการเมืองบางกลุ่ม นอกจากนี้เรายังจะเห็นได้ว่าชนชั้นกลางสิงคโปร์ยังเคลื่อนไหวทางการเมืองเพียงเฉพาะประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบคับแคบเท่านั้น

ชนชั้นกลางกับเสรีภาพในสิงคโปร์มิใช่ภาพนิ่งที่ปราศจากพลวัตรและการเปลี่ยนแปลงเสียเลย ในช่วงที่สิงคโปร์เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจนั้น ก็เกิดการเรียกร้องทางการเมืองเช่นกัน ลึกๆแล้วก็มีคนจานวนมากเช่นกันที่อึดอับและคับแค้นใจจากการปกครองอำนาจนิยมของรัฐบาลในช่วงหลังนายลีกวนยู ลงจากตำแหน่ง นายโก๊ะจ๊กตง ซึ่งมีความก้าวหน้าทางความคิดมากกว่านายลี ก็เริ่มเห็นกระแสการไม่พอใจดังกล่าวก็ได้พยายามลดหรือป้องกันการเรียกร้องทางการเมืองจากการไม่มีอำนาจของพลเมืองในการกำหนดนโยบายรัฐ ด้วยการจัดให้มีการสำรวจความคิด รับฟังความคิดเห็น เพิ่มอำนาจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นต้น เพื่อลดกระแสความรุนแรงทางการเมือง จากชนชั้นกลางหน้าใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นจานวนมาก

การต่อสู้กับอำนาจรัฐกับรัฐบาลสิงคโปร์กระทำได้ไม่ง่าย แต่กระแสความไม่พอใจกฏระเบียบทางสังคมที่เคร่งครัด เข้มงวดอย่างยิ่งนั้นย่อมก่อให้เกิดการต่อต้าน การต่อสู้กับกฎหมายที่เข้มงวดในชีวิตประจาวันของชาวสิงคโปร์เช่น การถ่ายปัสสาวะในลิฟท์ เวลาไม่มีคน ทิ้งก้นบุหรี่ ฯลฯ นี่คือตัวอย่างการต่อสู้ในชีวิตประจาวันของคนสิงคโปร์

แนวโน้มทางการเมืองในอนาคตในเรื่องการแสดงออกทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองสิงคโปร์นั้น สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ก้าวหน้ามากขึ้น เพราะรัฐบาลไม่สามารถจากัดการแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นในอดีต โลกยุคโลกาภิวัตน์ที่มีลักษณะไร้พรมแดนทางการสื่อสาร ได้เข้ามาจากัดการใช้อำนาจของรัฐมากขึ้น ทั้งรัฐยังไม่สามารถสร้างวาทกรรมครอบงำได้อย่างง่ายดายเช่นเดิม เพราะกลไกการวิพากษ์วิจารณ์อำนาจเผด็จการมีอำนาจมากขึ้นทั้งโดยตรง และเปิดเผย ปกปิด และซ่อนเร้นมากขึ้นนั่นเอง

การเมืองเชิงอุดมการณ์ : การสร้างอำนาจของชนชั้นปกครองในสิงคโปร์ แนวคิดที่ใช้อธิบายการเมืองสิงคโปร์ที่สำคัญคือ แนวคิดของอันโตนิโอ กรัมชีเรื่องอำนาจ คือการใช้อำนาจของกลุ่ม/ชนชั้นใดๆ เพื่อสร้างภาวะการครอบครองความคิด และมีอำนาจเหนือกลุ่ม/ชนชั้นอื่นๆในสังคม โดยการใช้อำนาจดังกล่าวนั้นปราศจากการใช้ความรุนแรง หรือการบังคับในเชิงกายภาพ แต่เป็นการใช้อำนาจผ่านกลไกชนิด ต่างๆ เพื่อครอบครองความคิด โน้มน้าว และทาให้เกิดการยอมรับ เพื่อก่อให้เกิดขึ้นซึ่งความยินยอมพร้อมใจ และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มพลังทางสังคมและชนชั้นต่างๆ โดยที่ผู้คนในกลุ่ม/ชนชั้นที่ถูกกระทำนั้นไม่ทราบ หรือไม่สามารถตระหนักได้ว่าตนได้ถูกครอบครองความคิดไปแล้ว

กลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์ครองอำนาจในการเมืองสิงคโปร์ กลุ่มก้อนทางอำนาจ(Power Bloc)ซึ่งนาโดยนายลีกวนยู สามารถสถาปนาทางอำนาจ เหนือกลุ่มก้อนทางอำนาจอื่นๆ เข้ามามีอำนาจทางการเมืองเหนือระบบการเมืองการปกครองของสิงคโปร์ โดยลีกวนยู ได้ทาสงครามช่วงชิงที่มั่น (War of Movement) กับสังคมการเมือง (Political Society) เพื่อกาจัดศัตรูทางการเมืองที่มีแนวคิดตรงข้าม ในช่วงแรกคือการใช้กาลัง(Coercion) กองทัพปราบปรามฝ่ายซ้าย และกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านระบบเศรษฐกิจการเมืองในขณะนั้น ลีกวนยูครองอำนาจมาอย่างยาวนาน ชนชั้นปกครองในทัศนะของกรัมชีจะไม่สามารถดารงในอำนาจอยู่ได้ โดยเฉพาะในรัฐสมัยใหม่ ก็ต้องทาสงครามช่วงชิงความคิด (War of Position) ในพื้นที่ของประชาสังคม (Civil Society) โดยการสร้างอุดมการณ์ทางสังคม แนวทางชาตินิยมขึ้นมาเพื่อสร้างการครองอำนาจทางความคิด เพื่อก่อให้เกิดความเห็นร่วมในการปกครองและการพัฒนา ให้ประชาสังคมยินยอม/ยอมรับ(Consent)ต่อการใช้อำนาจของรัฐบาล ในกระบวนการสร้างอำนาจของชนชั้นนำในพรรคPAP นั้น สามารถสืบทอดทางอำนาจมาอย่างยาวนานถือได้ว่า ชนชั้นนำทางการเมืองของพรรคPAP สามารถสร้างอำนาจทางการเมืองสิงคโปร์ได้อย่างประสบความสาเร็จ กลายเป็นกลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์ (Historical Bloc)ทางการเมืองสิงคโปร์แบบรัฐอำนาจนิยมนาการพัฒนา

ประชาสังคมกับการต่อต้านต่ออำนาจ ใช่ว่าการสร้างอำนาจของกลุ่มก้อนทางอำนาจดังกล่าวจากพรรคPAP ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน พื้นที่ในการสร้างอำนาจของชนชั้นปกครองคือพื้นที่การเมืองในภาคประชาสังคม (Civil Society) จะมีแต่ความราบรื่น สามารถสถาปนาอำนาจในสังคมการเมืองและประชาสังคมได้อย่างสมบูรณ์ แต่ในพื้นที่ประชาสังคมนั้น เนื่องจากเป็นพื้นที่นอกภาครัฐ เป็นพื้นที่สาหรับการต่อสู้เชิงความคิด วาทกรรม ความหมาย อุดมการณ์ การช่วงชิงนิยาม การสร้างอำนาจมักจะมีกลุ่มพลังที่ต่อต้านต่อการสร้าง/ครองอำนาจ (Counter-Hegemony) ซึ่งเป็นกลุ่มที่สร้างหรือมีความคิด นิยาม ความหมาย อุดมการณ์ ที่ต่อต้านหรือแตกต่างต่ออำนาจในปัจจุบัน การต่อต้านดังกล่าวกระทำโดยการทาสงครามช่วงชิงพื้นที่ทางความคิดผ่านพื้นที่ภาคประชาสังคม รวมทั้งการทาสงครามช่วงชิงที่มั่น(อำนาจรัฐ) ในพื้นที่สังคมการเมืองด้วย การต่อต้านต่ออำนาจของรัฐบาลสิงคโปร์อาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาทุกโอกาส อาจจะเป็นการต่อต้านในชีวิตประจาวัน การต่อต้านในที่ทางาน เป็นต้น เช่น การต่อต้านต่อกฎหมายที่เข้มงวดก็อาจแสดงออกผ่านการฝ่าฝืนกฎหมายเมื่อไม่มีคนเห็น เช่นการทิ้งขยะในที่ห้ามทิ้ง การเขียนประณามรัฐบาลในห้องน้า การแอบถ่ายในลิฟท์เป็นต้น ซึ่งกรณีเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างมากในสิงคโปร์จนกระทั่งปัจจุบัน

การต่อต้านต่ออำนาจในสิงคโปร์ที่น่าสนใจอาจแสดงออกมาผ่านงานศิลปะ การแสดง การละคร ภาพยนตร์ก็ได้ เช่น ในภาพยนตร์เรื่อง I NOT STUPID ที่ทาออกมาเพื่อต้องการต่อต้านต่ออำนาจการครองความคิดจิตใจของรัฐบาล ที่พยายามสร้างบรรทัดฐานทางสังคม กำหนดค่านิยมที่ถูก กำหนดทิศทางในการดาเนินชีวิต จากัดสิทธิเสรีภาพในการเลือก และการแสดงออกต่างๆ รัฐบาลสิงคโปร์ มีบทบาทอย่างมากในการนาทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ภาพยนตร์เรื่องนี้ เค้าโครงเรื่องจึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเสรีภาพของปัจเจก ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต่อต้านต่อวาทกรรมเพื่อส่วนรวม เชื่อฟังอำนาจรัฐ เคารพกฎระเบียบ เน้นความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว เช่นที่เคยเป็นมา ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นภาพยนตร์ที่ขัดแย้ง/ต่อต้าน ต่ออุดมการณ์หลักของสังคม อย่างอุดมการณ์แบบประชาคมนิยมที่เกิดขึ้นในสมัย ลีกวนยู และได้เสนอ/สถาปนา ความหมายใหม่ที่เน้นความสำคัญของเสรีภาพในการคิด พูด ทา มากขึ้น

การเมืองสิงคโปร์กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : นัยยะสำคัญทางการศึกษา 
ชนชั้นนำทางอำนาจ กษัตริย์ ทหาร ราชการ เราจะเห็นได้ว่าชนชั้นนำทางการเมืองของสิงคโปร์ผูกขาดอยู่กับกลุ่มคนจานวนน้อยที่ไม่มีความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจเลย เนื่องจากผู้นำที่มารับอำนาจต่อก็ล้วนแล้วแต่เป็นคนที่มีความสัมพันธ์กับผู้นำคนก่อนเป็นอย่างดี และยังสานต่อแนวทางการปกครองและการครอบงำทางอุดมการณ์เช่นเดิม ชนชั้นนำสิงคโปร์มีลักษณะที่เป็นเผด็จการทางการเมือง แต่มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ จะไม่เปิดให้มีการแสดงออกหรือเรียกร้องทางการเมืองในอันที่จะมากระทบต่อสถานะและอำนาจของตน การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสิงคโปร์จึงถูกผูกขาดอยู่ในมือคนเพียงหยิบมือเดียว ชนชั้นปกครองสิงคโปร์ยังสามารถสร้างการครองความคิดจิตใจ สอดใส่อุดมการณ์และวัฒนธรรมต่อประชาสังคมสิงคโปร์อยู่เสมอเพื่อมิให้เกิดการต่อต้านและเห็นชอบ ยินยอมพร้อมใจกับการปกครอง

ชนชั้นปกครองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแต่ละประเทศก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันไป ตามลักษณะการเมืองแต่ละรูปแบบของแต่ละประเทศ ในพม่า ชนชั้นปกครองคือทหาร ซึ่งมีจุดเด่นในการใช้กาลังปราบปราม มากกว่าชนชั้นปกครองในสังคมที่ยอมรับต่อโครงสร้างประชาธิปไตย ดังนั้นเมื่อมีการเรียกร้องทางการเมืองที่มีพลังมากขึ้น กองทัพจึงดาเนินการปราบปรามด้วยกาลังและอาวุธ ในฟิลิปปินส์นั้น ชนชั้นนำเข้ามามีอำนาจได้ภายใต้การอานวยประโยชนให้กับกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นอย่างเพียงพอ ชนชั้นนำอิทธิพลท้องถิ่นเป็นเส้นสายในการหล่อเลี้ยงรัฐบาลแห่งชาติ เพราะระบบราชการไม่เข้มแข็งลักษณะการใช้อำนาจก็แตกต่างกันไป ชนชั้นนำจึงสร้างอำนาจและความชอบธรรมผ่านเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองเป็นหลัก ในไทยนั้นมีสถาบันกษัตริย์และอามาตยาธิปไตยที่ยังคงมีอำนาจทางการเมืองอยู่ สถาบันกษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง ที่อามาตยาธิปไตยใช้เป็นศูนย์กลางทางอุดมการณ์ในการปกครองประเทศผ่านพรรคการเมืองเครื่องมือ รวมถึงการทาการยึดอำนาจโดยตรงในปี 2549 ชนชั้นปกครองของไทย มีความสามารถมากในการสร้างอำนาจ สถาบันกษัตริย์สามารถสถาปนาพระราชอำนาจเหนือกลุ่มพลังทางการเมืองใดๆในประเทศได้ โดยกลายมาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของกลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์

ในด้านการศึกษาโครงสร้างส่วนบนกับการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราจะพบว่าโครงสร้างส่วนบน เช่น สื่อ ระบบการศึกษา ศาสนา อุดมการณ์ ลัทธิการปกครอง ฯลฯ คือพื้นที่ของการสร้างการครองความคิดจิตใจ ของชนชั้นนำทางการเมือง ในสิงคโปร์ มีการห้ามการนาเสนอข่าว หรืองานวิชาการที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายรัฐบาล แต่รัฐบาลใช้สื่อของตนในการสร้างความชอบธรรมทางอำนาจของตน นอกจากนี้ลักษณะเด่นของการเมืองเชิงอุดมการณ์ในการเมืองสิงคโปร์คือการสร้างวาทกรรมประชาคมนิยมขึ้นมาเพื่อสร้างการครอบครองความคิดคน ผ่านโครงสร้างส่วนบนดังกล่าว

ในกรณีสังคมเผด็จการอย่าง พม่า ลาว เวียดนาม เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐควบคุมโครงสร้างส่วนบนไว้ทั้งหมด และกาลังถูกบั่นทอนอย่างหนักจากสื่อสมัยใหม่ที่เพิ่มพื้นที่ ความหลากหลาย และความรวดเร็วในการต่อสู้ ช่วงชิงพื้นที่ทางความคิด ในสังคมกึ่งเผด็จการก็เช่นเดียวกัน คือ กัมพูชา ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ประเทศเหล่านี้มีรัฐที่มักใช้อำนาจของตนเบี่ยงเบนกระบวนการประชาธิปไตยเสมอ โครงสร้างส่วนบนของประเทศเหล่านี้ก็คล้ายคลึงกันคือใช้ในการขัดเกลาทางอุดมการณ์และความคิดทางการเมืองเป็นให้สอดคล้องกับชนชั้นปกครองเป็นหลัก เช่นในแบบเรียนไทยที่สร้างความรู้ความเข้าใจประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันเอง ผ่านองค์ความรู้แบบ อนุรักษ์นิยมและชาตินิยม มองประเทศอื่นๆ จากจุดยื่นอคติทางชาติของตน แต่ในประเทศดังกล่าวก็นับว่ายังมีพื้นที่สาหรับการต่อสู้ต่ออำนาจของชนชั้นปกครองกึ่งเผด็จการอยู่มาก การเมืองในพื้นที่ประชาสังคม การเมืองเชิงอุดมการณ์ การต่อสู้เรื่องนิยาม ความหมาย จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการศึกษาการเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในประเด็นการศึกษาเรื่องเศรษฐกิจทุนนิยมกับเสรีภาพของปัจเจกในสิงคโปร์นั้น ตรงนี้เป็นข้อสรุปที่น่าสนใจว่า ชนชั้นกลางในประเทศทุนนิยมกาลังพัฒนานั้น ไม่ใช่ผู้ที่จะชื่นชอบต่อเสรีภาพและประชาธิปไตยเสมอไป ชนชั้นกลางในสิงคโปร์ยินยอมต่ออำนาจเผด็จการและเรียกร้องในประเด็นที่คับแคบทางเศรษฐกิจเท่านั้น ตราบใดที่ไม่มีความจาเป็น หรือเกิดความรู้สึกถึงการใช้อำนาจที่มากไปจนละเลยความสามารถในการอดทนได้ ตรงนี้ทาให้การศึกษาและทำความเข้าใจทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไม่สามารถละเลยประเด็นเรื่องความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสังคมการเมืองได้ ในกรณีชนชั้นกลางในไทย ก็มีแนวโน้มความเป็นอนุรักษ์นิยมสูงและขัดต่อความก้าวหน้าเสียด้วย อาจคล้ายคลึงกับการเมืองสิงคโปร์มาก เพราะชนชั้นกลางไทยยังพอใจกับโอกาสทางเศรษฐกิจของตนอยู่ ไม่สนใจการเรียกร้องทางอำนาจการเมืองของคนระดับล่างกว่าตน และมองการเคลื่อนไหวของคนชั้นกลางระดับล่างว่าเป็น การขัดขวางต่อการพัฒนาเป็นต้น ประเด็นเรื่องเสรีภาพทางการเมืองกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจจึงเป็นความขัดแย้งที่จาเป็นในสังคมทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย การเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังต้องรอการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นสมัยใหม่และการพัฒนาทางการเมืองอยู่ในหลายประเทศ พลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัตน์ปัจจุบันจึงไม่ได้ผูกขาดอยู่แค่ ปัจจัยใดเพียงปัจจัยเดียว แต่เกิดจากพลวัตรทั้งสังคมในทุกระดับ